Search

รองเท้าผ้าใบ

สนีกเกอร์ (Sneakers) คืออะไร รองเท้าผ้าใบ หรือรองเท้ากีฬา? ในยุคที่เทรนด์กีฬาและแฟชันเฟื่องฟู สนีกเกอร์ (Sneakers) เป็นหนึ่งในคำที่สร้างความสับสน แม้แต่คนที่ชอบรองเท้าเอง ก็อธิยายความหมายของสนีกเกอร์ (Sneakers) แตกต่างกันไป บ้างก็บอกว่ามันคือ รองเท้าผ้าใบ หรือรองเท้ากีฬาที่เรารู้จักนี่แหละ

“ สนีกเกอร์ (Sneakers)” มีต้นกำเนิดมาจาก “รองเท้ากีฬา ”

อ่านไม่ผิดฮะ กำเนิดของสนีกเกอร์ (Sneakers) มาจาก รองเท้ากีฬา นี่แหละ หรือเรียกได้ว่า รองเท้ากีฬา คือ บรรพบุรุษของสนีกเกอร์โดยตรงในสมัยก่อน สนีกเกอร์ (Sneakers) ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับการเล่นกีฬาโดยเฉพาะ โดนมีตัวพื้นรองเท้าเป็นยาง เพื่อให้เวลาสวมใส่ สามารถยึดเกาะพื้นผิวต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น กีฬาเทนนิส หรือบาสเก็ตบอล เป็นต้น

ในบางประวัติมีบอกเพิ่มเติมอีกว่า สนีกเกอร์ ไปพ้องเสียง คล้ายกับคำว่า สนีกส์ (Sneaks) ที่แปลว่า การย่องเบา ไปมาเงียบ ๆ ไม่ค่อยมีเสียง ซึ่งในบางประเทศ มักใช้เรียกแทน รองเท้าที่ทำจากพื้นยาง พูดติดปากกันไปมา จนเปลี่ยนไปใช้คำว่า สนีกเกอร์ (Sneakers) นั่นเอง

แล้ว “สนีกเกอร์ (Sneakers)” ก็คือ “รองเท้าผ้าใบ” ด้วยใช่ไหม

ถูกต้องฮะ ไม่ว่าจะเรียก สนีกเกอร์ รองเท้ากีฬา รองเท้าผ้าใบ มองจากความหมายโดยรวมแล้ว มันก็คือ รองเท้าชนิดเดียวกัน แต่ต่างกันในแง่ “การใช้งาน” มากกว่าสนีกเกอร์ ความหมายในปัจจุบัน ความหมายมักจะค่อนไปทาง การใส่เล่น ใส่เดินปกติ หรือแฟชั่น มากกว่าการใส่เล่นกีฬา เราอาจสังเกตได้จากการอ่านประวัติของสนีกเกอร์คู่นั้น ๆ

ก็จะพบว่าบางเทคโนโลยีในสนีกเกอร์ถูกปรับออกไป ตัวอย่างเช่นแบรนด์ ASICS ตระกูล GEL-Kayano 14 / GEL-Nimbus 9 ซึ่งเคยเป็นรองเท้าวิ่งยุคต้นกำเนิดของ asics แต่ปัจจุบันถูกนำกลับมาทำใหม่ให้เป็นสนีกเกอร์สาย SportStyle (ใส่ลำลองใส่เดิน แฟชั่น)

รองเท้าวิ่งที่ถูกนำกลับมาทำใหม่ ให้เป็นสนีกเกอร์สำหรับใส่ที่ผมใส่อยู่เช่น ASICS GEL-KAYANO 5 / GEL-KAYANO 14 / GEL-NIMBUS 9 และ GEL-1090 ของแบรนด์ asics แต่ในปัจจุบันนำกลับมาทำใหม่ กลายเป็นสนีกเกอร์สำหรับใส่ทั่วไปหรือใส่ในเชิงแฟชันแทน ซึ่งทางผมเคยทำคลิปรีวิวในเชิงการใช้งานเอาไว้บน YouTube ของ I Am Sneakers ด้วย ลองไปดูกันได้ฮะ

เรื่องที่คนชอบรองเท้า สนีกเกอร์ควรรู้

ว่าด้วยเรื่อง ส่วนประกอบต่าง ๆ ของสนีกเกอร์ (Sneakers Anatomy) หลังจากได้รู้ความหมายของสนีกเกอร์ไปเรียบร้อยแล้ว ผมอยากพาเพื่อน ๆ มารู้จักกับ ส่วนประกอบต่าง ๆ ของสนีกเกอร์ (Sneakers Anatomy) ซึ่งจริง ๆ แล้วแต่ละแบรนด์ก็จะมีรายละเอียดการเรียกต่างกันไป แต่มันจะมีอยู่ 7 ตำแหน่งที่แทบทุกแบรนด์เรียกเหมือนกัน และเรามักจะได้ยินกันบ่อย ๆ ด้วยครับ อีกคำนึงที่มักจะมาพร้อมกันคือ สนีกเกอร์เฮด (Sneakerhead) อย่างที่เกริ่นไปตอนต้นว่า พี่ปิ๊น ผู้ก่อตั้งร้านและแบรนด์ CARNIVAL ก็เป็นหนึ่งใน Sneakerhead แห่งวงการรองเท้าของเมืองไทยด้วยเหมือนกัน อยากรู้ว่า Sneakerhead คืออะไร

“รองเท้าสนีกเกอร์ คืออะไรกันแน่ ”

คุณปริ๊น เล่าว่า “รองเท้าสนีกเกอร์” คือรองเท้าผ้าใบธรรมดา เพียงแต่ในอดีตเป็นรองเท้าที่ใช้เล่นกีฬาเท่านั้น โดยมีการเริ่มมาจากกีฬาประเภทบาสเกตบอล และ เทนนิส วัสดุที่ใช้ทำรองเท้าประเภทสนีกเกอร์ในสมัยก่อนจะใช้ยางเป็นวัสดุในการผลิตเท่านั้น เพราะจะช่วยให้นักกีฬาสามารถควบคุมการหยุด และจังหวะในการเล่นได้ดี แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว

โดยวัสดุที่ใช้ทำพื้นรองเท้าประเภทสนีกเกอร์เปลี่ยนไปเช่นกัน ไม่ได้ใช้แค่ยาง แต่ยังใช้หนังแท้ หนังเทียม และผ้าถัก เป็นต้น จุดเด่นอย่างหนึ่งของรองเท้าสนีกเกอร์ คือ มีน้ำหนักเบากว่ารองเท้าชนิดอื่น สามารถสวมใส่สบาย และสามารถใส่ไปได้ในทุกๆ ที่ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคำว่า Sneaker ที่มีความหมายว่า นักย่องเบา

รองเท้าสนีกเกอร์ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ รองเท้าสนีกเกอร์แบบใส่เล่นกีฬาและสำหรับออกกำลังกาย ซึ่งเป็นต้นแบบของรองเท้าสนีกเกอร์ในยุคแรก ส่วนอีกแบบคือ รองเท้าสนีกเกอร์แฟชั่น สามารถใส่ออกกำลังกายเบาๆ

หากยกตัวอย่างรองเท้าสนีกเกอร์รุ่นที่โด่งดังในอดีต ซึ่งปัจจุบันนำกลับมาวางขายใหม่ คือ รองเท้าจากค่าย Adidas รุ่น Stan Smith ย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว รองเท้ารุ่นนี้เคยเป็นรองเท้าที่ใช้ใส่เล่นกีฬาประเภทเทนนิส และแบดมินตัน เท่านั้น และปัจจุบันทางค่ายได้นำกลับมาวางขายใหม่ ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนรูปทรงและพื้นรองเท้าให้เข้ากับแฟชั่นในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นที่โด่งดังมากในขณะนี้

ด้วยเสน่ห์ของรองเท้าสนีกเกอร์

ทำให้มีคนคลั่งไคล้รองเท้าประเภทนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งเรียกว่า “สนีกเกอร์เฮด” ลักษณะเด่นของเหล่าสนีกเกอร์เฮด คือ มีความรู้เรื่องรองเท้าสนีกเกอร์เป็นอย่างดี ทั้งชื่อรุ่น ปีที่ผลิต วัสดุที่ใช้ ลวดลาย และประวัติ รวมถึงเป็นนักสะสมรองเท้าสนีกเกอร์รุ่นดังๆ อีกด้วย ปัจจุบันประเทศไทยยังมีคนที่ได้ชื่อว่าเป็นสนีกเกอร์เฮดอยู่น้อย ทั้งหมดนี้ คือ เรื่องราวของรองเท้าสนีกเกอร์ และการใช้งานอย่างเหมาะสม ลองก้มลงดูรองเท้าผ้าใบที่คุณใส่ คือรองเท้าสนีกเกอร์จริงหรือ และคุณใส่รองเท้าที่เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำหรือไม่

บทความแนะนำ